ธรรมชาติ

                                             

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

การแกะสลักผักและผลไม้ไทย

ศิลปะการแกะสลักของไทยเป็นที่รู้จักอย่างดีและเลื่องชื่อไปทั่วโลก การแกะสลักผักและผลไม้ไทยเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะการแกะสลักไทยอันน่าอัศจรรย์ ซึ่งเป็นกรรมวิธีของการอาหารไทยสมัยโบราณโดยใช้ผักและผลไม้สดนานาชนิดแกะสลักเป็นดอกไม้และสัตว์หิมพานต์สำหรับนำมาประดับตกแต่งจานอาหารและในงานเลี้ยงสังสรรค์ในบรรยากาศแบบไทยๆ โดยเฉพาะในพระราชวัง





อาหารไทยเพื่อสุขภาพ

อาหารไทยจัดว่าเป็นหนึ่งในอาหารสุขภาพของโลก ในอาหารไทยเต็มไปด้วยสมุนไพรหลากหลายชนิดอย่างเช่น ข่า , ขิง , พริก , ขมิ้น , พริกไทยอ่อน , กระชาย , กะเพรา , ตะไคร้ , โหระพาและอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้มีแอนตี้ออกซิแดนท์ที่จะช่วยปกป้องคุณจากสารพิษต่างๆ และเพิ่มภูมิต้านทานอนุมูลอิสระ ขิง นั้นดีต่อระบบไหลเวียนโลหิต ลดแก๊สและรักษาโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ตะไคร้ ช่วยลดไข้และรักษาอาการหวัด พริก ช่วยทำให้ร่ายกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า นอนหลับสบาย เจริญอาหาร แล้วยังช่วยรักษาระดับอินซูลินและกลูโคสในร่างกาย ในอาหารหลายจานสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ กะทิ ซึ่งมีกรดไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งชาวตะวันตกส่วนใหญ่มักจะขาดกรดไขมันชนิดนี้ กะทิ ในปริมาณที่เหมาะสมช่วยลดคลอเรสเตอรอลที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและส่งเสริมการทำงานของคลอเรสเตอรอลดี ขมิ้น นั้นได้รับการยอมรับจากวงการยาสมุนไพรระดับสากล ว่าเป็นยาสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ช่วยรักษาอาการป่วยในช่องท้องและโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร จากงานวิจัยรักษาโรคมะเร็งล่าสุด สมุนไพรขมิ้นยังมีประโยชน์ในการลดการเจริญ เติบโตของเซลมะเร็งได้อีกด้วย



ผักสมุนไพรไทย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
(ในอาหาร 100 กรัม)
พริกไทยอ่อน 103.24
รากผักชี 16.78
กระเทียม 9.38
ขมิ้น 1,126.12
ผงกะหรี่ 145.03
พริกขี้หนูแห้ง 74.78
ผิวมะกรูด 88.44
ข่า 103.81
กระชาย 63.38
ขิง 183.32
พริกชี้ฟ้าแดง 91.80
ใบกะเพา 319.32
ใบโหระพา 129.47
หอมแดง 10.56

10 อันดับอาหารไทยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในต่างประเทศ

ครัวไทยเข้าสู่ความเป็นหนึ่งในการอาหารยอดนิยมที่สุดในโลกและได้รับความสนใจเป็นอย่างสูง ครัวไทยคืองานศิลปะที่รังสรรค์ความเป็นไทยแท้ด้วยการผสมผสานรสชาติหลักของอาหารคือเผ็ดร้อน , เปรี้ยว , หวานและเค็มด้วยเครื่องปรุงและสมุนไพรนานาชนิดที่ดีต่อสุขภาพ รสชาติที่ผสมผสานเข้ากันอย่างลงตัวทั้งสี่รสในแต่ละจานทำให้บรรดาชาวต่างชาติจากทั่วโลกต่างติดอกติดใจ อาหารไทยคาวหวานแบบดั้งเดิมนั้น มีความละเอียดละอ่อนในการปรุงและการตกแต่งที่วิจิตรบรรจงอย่างเช่น การแกะสลักผักและผลไม้ ซึ่งนำมาใช้ประดับตกแต่งอาหารบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอาหารตำรับชาววัง

ไม่นานมานี้ ด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศสิบอันดับรายการอาหารไทยที่ชาวต่างชาติชื่นชอบมากที่สุด ซึ่งจากการสำรวจร้านอาหารไทยทั่วโลกของทางสำนักงานฯ ผลการสำรวจแบบสอบถามในร้านอาหารไทยหนึ่งพันแห่งทั่วโลก สิบอันดับรายการอาหารไทยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในต่างประเทศคือ



อันดับ 1. ต้มยำกุ้ง





อันดับ 2. แกงเขียวหวานไก่





อันดับ 3. ผัดไทย





อันดับ 4. ผัดกะเพรา





อันดับ 5. แกงเผ็ดเป็ดย่าง





อันดับ 6. ต้มข่าไก่





อันดับ 7. ยำเนื้อ





อันดับ 8. หมูหรือไก่สะเต๊ะ





อันดับ 9. ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์





อันดับ10. แกงแพนง

อาหารพื้นบ้านภาคใต้

 แกงไตปลา  

                  เครื่องปรุง
  1. กะปิ
  2. ปลาย่าง
  3. พุงปลาที่หมักได้ที่แล้ว
  4. น้ำ เกลือ น้ำตาล ใบมะกรูด มะนาว
  5. ผักสด เช่น มัน ฟักทอง มะเขือเทศต่างๆ หน่อไม้
  6. เครื่องแกงมีพริกแห้ง หอม กระเทียม ตะไคร้ ข่า พริกไทย ขมิ้น นำมาโขลกให้ละเอียด
                  วิธีทำ
  1. นำพุงปลามาทำให้สะอาดโดยเอาขี้ปลาออกให้หมด
  2. นำพุงปลาที่สะอาดแล้วมาซาวด้วยเกลือพอประมาณ
  3. นำพุงปลาซาวเกลือใส่ขวดแก้วหรือใส่กระปุก ปิดฝาให้มิดชิดทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์
  4. เปิดออกดูจะได้กลิ่นหอมเปรี้ยว นำไปแกงได้ชนิดของพุงปลา
     * พุงปลาช่อนนำมาทำเป็นไตปลา ให้รสชาติหอมมันอร่อยมากที่สุด พุงปลากระดี่
ภาษาพื้นบ้านเรียกว่า ขี้ดี  ให้รสชาติขมหอมอร่อยมาก   พุงปลาโดยทั่วไปจะทำจาก
ปลาทูหรือปลารัง *

                  วิธีปรุง
  1. นำพุงปลาตั้งไฟให้เดือด เทกรองเอาเฉพาะน้ำ เติมน้ำตามสมควรตั้งไฟให้เดือด
  2. ใส่เครื่องแกง เดือดได้ที่เติมเครื่องปรุง น้ำตาล น้ำมะนาว กะปิ
  3. ใส่ปลาย่าง ผักสด


อาหารพื้นบ้านภาคกลาง

แกงส้มมะรุมกับปลาช่อน

ส่วนผสม
1. ปลาช่อน 1 ตัวFood-Central-AA15
2. มะรุมปอกเปลือกแล้วตัดเป็นชิ้นๆ
3. น้ำปลา น้ำมะขามเปียก

เครื่องปรุงพริกแกงส้ม
1. ข่าหั่นฝอย 1 ช้อนชา
2. พริกแห้ง 7 เม็ด
3. หอมแดง 4 หัว
4. กระเทียม 4 กลีบ
5. กะปิ 1 ช้อนชา
6. เกลือ 1 ช้อนชา

วิธีทำ
1. นำปลาช่อนมาต้ม แล้วแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งหั่นเป็นชิ้นประมาณ ½ นิ้ว อีกส่วนแกะเอาแต่เนื้อ
2. นำเครื่องปรุงพริกแกงส้มทั้งหมดมาโขลกให้ละเอียด แล้วนำเนื้อปลาส่วนที่แกะเนื้อไว้โขลกรวมกันไปด้วย
3. นำหม้อใส่น้ำตั้งไฟให้เดือด ปรุงรสด้วยน้ำส้มมะขาม น้ำปลา ชิมให้ออกรสชาติเปรี้ยวนำ
4. ใส่ปลา ใส่มะรุมลงไปขณะเดือด ปิดฝายกลง

อาหารพื้นบ้านภาคอีสาน

หมกหน่อไม้

เครื่องปรุง

-หน่อไม้ ½ กิโลกรัม (500 กรัม)is13
-ข้าวเหนียว 4-5 ช้อนโต๊ะ (60-70 กรัม)
-กระเทียม 3 หัว (90 กรัม)
-หอมแดง 4 หัว (20 กรัม)
-พริกแห้ง 15-20 เม็ด (15 กรัม)
-ตะไคร้ 2-3 ถ้วย (60 กรัม)
-ต้มหอม 4 ต้น (20 กรัม)
-ใบแมงลัก 2 กำมือ (50 กรัม)
-ใบย่านาง 1 กำมือ (15 กรัม)

วิธีทำ

1. ล้างใบย่านาง ให้สะอาด นำมาโขลกกรองเอาแต่น้ำ 1 ถ้วยตวง
2. แช่ข้าวเหนียวไว้ในน้ำสะอาด
3. ใช้ส้อมขูดหน่อไม้ให้เป็นเส้น ๆ นำไปต้มในน้ำสะอาดจนหล่อไม้สุก ช้อนหน่อไม้ขึ้นพักไว้
4. นำข้าวเหนียวที่แช่น้ำได้ที่แล้วมาโขลกรวมกับ พริกแห้ง พะไคร้ หอมแดง ผสมกับน้ำย่านางที่เตรียมไว้ กรองเอาแต่น้ำให้ได้สัก 1 ถ้วยตวง นำน้ำไปต้มพร้อมกับใส่หน่อไม้ลงไปพอเดือดยกลง
5. ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า 1-2 ช้อนโต๊ะ เหยาะน้ำปลาโรงเกลือป่น 1 ช้อนชา คลุกเคล้าให้เข้ากัน
6. นำหน่อไม้ที่คลุกด้วยเครื่องปรุงแล้วหอใส่ใบตองแล้วนึ่งด้วยไปแรงจัด

อาหารพื้นบ้านล้านนา

น้ำพริกแคบหมู


คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่่น้ำพริกแคบหมู
 
            น้ำพริกแคบหมู เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้ง ชนิดของพริกที่นิยมใช้คือ พริกหนุ่ม หรือพริกดิบ บ้างใส่พริกขี้หนูด้วย แล้วแต่ชอบ บ้างนิยมนำกระเทียมย่างไฟก่อนนำมาปรุง (สุมาลี ทะบุญ, สัมภาษณ์, 27 มิถุนายน 2550)
 
 
ส่วนผสมน้ำพริกแคบหมู
1. แคบหมู 50 กรัม
2. พริกหนุ่มย่างไฟ 20 เม็ด
3. กระเทียม 10 กลีบ
4. เกลือ 1/2 ช้อนชา
 
วิธีทำำน้ำพริกแคบหมู  
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
1
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
2
 
1. โขลก เกลือ กระเทียม และพริกเดือยย่างไฟ รวมกันให้ละเอียด
2. ใส่แคบหมู ลงโขลกรวมกัน
   
 
 

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร-เกษตรแปรรูป

การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร-เกษตรแปรรูป

สินค้า
   ปัจจุบันการประกอบอาชีพเชิงธุรกิจใน ด้านการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร - เกษตรแปรรูปซึ่งเป็นธุรกิจที่ต่อยอดมาจากภาคการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานที่ สำคัญของประเทศไทยยังคงมีความสำคัญต่อการสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและ ธุรกิจประเภทนี้มีอยู่ในทุกส่วนของประเทศ ขณะเดียวกันรัฐบาลยังคงให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในการเพิ่มสมรรถนะให้ กับธุรกิจประเภทนี้เพื่อให้ธุรกิจพื้นฐานที่สำคัญของประเทศมีความยั่งยืน
   อย่างไรก็ตามธุรกิจอาหาร - เกษตรแปรรูป ในยุคโลกาภิวัฒน์ควรเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับสภาวะสังคมไทยและสังคมใน ระดับโลก กฎหมายหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง โดยมีการผสมผสานระหว่างความรู้ เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม และการใช้วัตถุดิบที่ไทยเรามีอยู่นั่นเองในมุมมองของนักวิชาการพบว่าผลิตภัณฑ์อาหาร ? เกษตรรูปของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผลิตจากอุตสาหกรรมครัวเรือนยังคงมีปัญหา หลาย ๆ ประการ ที่สำคัญ เช่น ขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่มีเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์หรือตราสินค้า ไม่มีระบบการผลิตที่ได้มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับของลูกค้า บรรจุภัณฑ์ไม่เป็นที่น่าดึงดูดความสนใจของลูกค้าหรือไม่สามารถปกป้องคุณภาพ สินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ได้นำเรื่องความต้องการและความคาดหวังของลูกค้ามาเป็นปัจจัยสำคัญของการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ทำให้เสียเปรียบในการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ผลิตรายอื่น

แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาหาร - เกษตรแปรรูป

   แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ? เกษตรแปรรูปของธุรกิจระดับครอบครัวอาจแบ่งได้เป็น?3 แนวทางด้วยกันคือการ
  1. พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร - เกษตรแปรรูปที่มีต้นทุนรวมต่ำสุด แนวทางนี้เหมาะกับการผลิตสินค้าที่ไม่มีความแตกต่างในเรื่องรูปแบบหรือ คุณภาพสินค้าเท่าใดนัก หรือเป็นสินค้าที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อโดยพิจารณาราคาเป็นเกณฑ์สำคัญเนื่องจาก เป็นสินค้าของตราหรือยี่ห้อต่างๆ ที่วางขายแทบจะไม่ค่อยมีความแตกต่าง เช่น ข้าวสาร?สินค้าราคาถูก ๆ ที่ขายกันในตลาดล่าง หากผู้ประกอบการใช้แนวทางนี้หมายความว่าจะให้ความสนใจในด้านต้นทุนการผลิต มากกว่ารูปลักษณ์ของสินค้าและบรรจุภัณฑ์หรือคุณภาพสินค้า ข้อดีของแนวทางนี้คือธุรกิจครอบครัวจะได้เปรียบคู่แข่งขันได้ด้านต้นทุน สามารถแข่งขันในด้านราคา หรือได้กำไรต่อหน่วยผลิตสูงกว่า
  2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร - เกษตรแปรรูปที่มีความแตกต่าง แนวทาง นี้เหมาะกับการผลิตสินค้าที่ผู้ประกอบการต้องการให้สินค้าของตนมีความแตก ต่างจากสินค้าของคู่แข่งขันอาจจะเป็นในเรื่องของความเหนือกว่าในด้านคุณภาพ คุณค่าทางโภชนาการ มาตรฐานความปลอดภัยในอาหาร ประโยชน์ใช้สอย เช่นบรรจุภัณฑ์ที่สะดวกต่อการใช้งาน หรืออื่นๆ สินค้าประเภทนี้หากทำการตลาดได้ผลให้ลูกค้ารับรู้ข้อมูลจุดเด่นของสินค้าและ คุณค่าที่แตกต่าง ก็จะมีลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่ประสงค์จะซื้อถึงแม้ว่าจะต้องจ่ายเงินแพงกว่า สินค้าเดียวกันของยี่ห้ออื่นเพราะคาดหวังที่จะได้รับอรรถประโยชน์จากการใช้ สินค้านั้น
  3. การ พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร - เกษตรแปรรูปที่เป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะ แนวทาง นี้เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่มีความชำนาญในการผลิตสินค้าประเภทหนึ่งๆ และสามารถทำการผลิตสินค้าที่มีคุณลักษณะเฉพาะอย่างโดยที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ ไม่มีศักยภาพที่จะทำได้หรือคู่แข่งยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้อย่างเต็มที่ อาจจะเป็นการผลิตตามออเดอร์ (Order) หรือคำสั่งซื้อของลูกค้าซึ่งต้องการสินค้าที่ไม่ได้มีขายทั่วไปในท้องตลาด หรือทำการผลิตสินค้าสำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายพิเศษ ธุรกิจประเภทนี้สามารถพัฒนาสินค้าที่มีรูปแบบหรือคุณภาพเหนือกว่าคู่แข่งขัน ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายสามารถซื้อสินค้าประเภทนี้แม้จะต้องจ่ายในราคาที่แพง กว่า เพราะเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีขายแพร่หลายนัก เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีแคลอรีต่ำสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการเติมสารอาหารที่มีการกล่าวอ้างว่ามีผลต่อการบำรุงสุข ภาพเฉพาะทาง เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรจากธรรมชาติซึ่งมีสรรพคุณช่วยชะลอริ้ว รอยบนใบหน้า เป็นต้น
   แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร - เกษตรแปรรูปทั้ง 3 แนวทางข้างต้นนี้มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน หากผู้ประกอบการตัดสินใจเลือกแนวทางใดก็ตามบนพื้นฐานที่สำคัญคือความรู้ความ สามารถ ความชำนาญและทรัพยากรด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแรงงาน เงิน อุปกรณ์เครื่องจักร ฯลฯ ตลอดจนข้อมูลจากการศึกษาด้านการตลาดแล้ว และมีการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จก็จะเกิดขึ้นได้ไม่ยาก

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร - เกษตรแปรรูปในปัจจุบัน

   การ พัฒนาผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการมือใหม่หรือที่ยึดอาชีพธุรกิจอาหาร-เกษตร แปรรูปมานานแล้วอาจจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวเมื่อนำสินค้าใหม่เข้าสู่ ตลาด ทั้งนี้อาจจะไม่ได้ศึกษาข้อมูลสถานการณ์ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อของ ลูกค้าตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างดีพอ
ดังนั้นเมื่อริเริ่มที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์จึงควรศึกษาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบเพื่อที่จะได้มีการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยที่สำคัญได้แก่

ความ ต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

   ในอดีตการผลิตสินค้ามักจะเป็นไปตามเงื่อนไขของการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามเงื่อนไขของผู้ผลิต แต่ในการบริหารจัดการยุคใหม่ของธุรกิจที่ทำการผลิตสินค้าหรือธุรกิจการ บริการที่จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน จะมีการนำเรื่องของข้อกำหนดของลูกค้ามาใช้ในการจัดการผลิตและการส่งมอบจึง เป็นความจำเป็นที่ผู้ผลิตจะต้องศึกษาข้อมูลสิ่งที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ต้องการหรือคาดหวัง หากเป็นสินค้าอาหารพบว่ากระแสความต้องการของลูกค้าในสังคมเมืองและขยายไปถึง สังคมชนบทมีหลาย ๆ ด้านที่ตอบสนองลูกค้าที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงานและเวลานอกบ้าน ไม่มีเวลามากนักที่จะหุงหาอาหารเองเหมือนคนรุ่นก่อน แต่ก็ต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพ ไม่เสื่อมเสียง่ายภายใต้เงื่อนไขอายุการเก็บรักษา (shelf life) รับประทานได้ทันที (ปรุงแล้ว) หรือปรุงได้รวดเร็วและไม่ยุ่งยาก มีประโยชน์ต่อร่างกาย และมีความปลอดภัยต่อการบริโภค?ตัวอย่างอาหารที่ตอบสนองความต้องการของผู้ บริโภคยุคใหม่ เช่น

   อาหาร พร้อมบริโภค จัดเป็น อาหารสำเร็จรูปที่นำมาบริโภคได้ทันที แต่บางชนิดอาจจะต้องนำไปอุ่นก่อนบริโภค เช่น อาหารปรุงสำเร็จแช่แข็ง?(ข้าวหุงสุกพร้อมแกง ซาลาเปา ติ่มซำ ฯลฯ)?อาหารพร้อมบริโภคบางอย่างจัดเป็นฟาสต์ฟู้ด (fast food) ที่มาจากทางตะวันตก เช่น ไก่ทอด แฮมเบอร์เกอร์ กิจการประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นฟรานไชส์ (franchise) จากต่างประเทศ นอกจากนี้อาหารไทยของเราเองหลาย ๆ อย่างก็จัดเป็นฟาสต์ฟู้ดได้เหมือนกัน แต่คนไทยไม่ได้เรียกว่าเป็นฟาสต์ฟู้ด เช่น ขนมจีนราดด้วยน้ำพริกชนิดต่าง ๆ ข้าวราดแกง ข้าวเหนียว-ไก่ทอด ฯลฯ

   อาหารพร้อมบริโภคนี้ไม่ได้จำกัด เฉพาะรับประทานที่บ้านหรือที่ร้านเท่านั้น ยังหมายถึงอาหารที่มีจำหน่ายหรือรับประทานในรถไฟ เครื่องบิน รถโดยสารระหว่างจังหวัดด้วย

   อาหารพร้อมปรุง จัดเป็น อาหารที่อำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคในปรุงสุกได้เร็วขึ้น เน้นความสดสะอาด ประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆ เช่น เนื้อสัตว์ที่ตัดแต่งและหั่นแล้ว ผักที่ล้างทำความสะอาดและตัดแต่งแล้ว พร้อมเครื่องปรุงรส?โดยมีการจัดเตรียมรวมกันไว้เป็นชุด สามารถนำไปหุงต้มที่ไม่ใช้เวลามากนักได้ทันที

   อาหาร เพื่อสุขภาพ จากการศึกษาข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวกับสุขภาวะของคนไทยในปัจจุบันเพื่อใช้เป็น ฐานข้อมูลส่วนหนึ่งของการศึกษาความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าอาจดูได้ จากรายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของคนไทยในปัจจุบัน[*] จะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย อาทิ การบริโภคอาหารของกลุ่มวัยทำงาน (อายุ 15-59 ปี) พบว่าได้รับพลังงานจากอาหารที่บริโภคอย่างพอเพียงเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน อ้างอิง แต่ปริมาณสารอาหารแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 1 อยู่ในระดับที่ไม่พอเพียงและโดยเฉพาะวิตามินซีที่ได้รับไม่พอเพียงอาจมาจาก การบริโภคอาหารจำพวกผักสดและผลไม้สดที่เป็นแหล่งของวิตามินซีน้อยเกินไปใน แต่ละวัน นอกจากนี้ภาวะโภชนาการของกลุ่มวัยทำงาน พบว่าภาวะอ้วนในวัยผู้ใหญ่พบมากที่สุดในวัย 30-59 ปี และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายร้อยละ 46.2 และ 32.0 สำหรับผู้สูงอายุมีความชุกของภาวะอ้วนลดลงตามอายุที่มากขึ้นและพบมากในเขต เมือง

   หากดูภาพรวมเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของ คนไทยไม่ว่าวัยใดก็ตามในปัจจุบันพบว่าการได้รับและการใช้พลังงานไม่สมดุล เช่น รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงจำพวกน้ำตาล ไขมัน แป้ง แต่กลับใช้พลังงานในแต่ละวันน้อย ขาดการออกกำลังกาย ทำให้เกิดปัญหาตามมา ที่สำคัญคือภาวะโภชนาการเกิน (overnutrition) มีผลต่อความเสี่ยงของสารพัดโรคตามมา เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคหัวใจขาดเลือด ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือภาวะที่กล่าวมานี้พบในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นมาก ขึ้น ส่วนภาวะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอที่เคยเป็นปัญหาโภชนาการในอดีตบางอย่างก็ ยังคงพบได้ในชุมชนต่าง ๆ อาทิ ภาวะการขาดธาตุเหล็กในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุทำให้เป็นโรคโลหิตจาง?ภาวะการขาดแคลเซียมและกลุ่มวิตามินบีใน เด็ก ฯลฯ

   จากกระแสอาหารเพื่อสุขภาพจึงมีการ ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารที่เน้นในเรื่องคุณค่าทางโภชนาการกันมากขึ้น โดยทั่วไปมี 4 รูปแบบได้แก่
   1.ผลิตภัณฑ์ ที่มีการเติมสารอาหาร มีอยู่ ด้วยกัน 3 รูปแบบคือ
  • การเติมเพื่อทดแทนสารอาหารที่ สูญเสียไปอันเนื่องมาจากกระบวนการผลิต เช่น การเติมวิตามินซีลงในน้ำผลไม้ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วและบรรจุในขวดแก้วหรือ ภาชนะปิดสนิท เนื่องจากวิตามินซีสลายตัวได้ง่ายมากจากแสง ความร้อน ออกซิเจนในอากาศ เมื่อเปรียบเทียบกับวิตามินชนิดอื่น ๆ และผู้บริโภคมีความคาดหวังที่จะได้รับวิตามินซีจากการดื่มน้ำผลไม้ สำเร็จรูป
  • การเติมเพื่อให้ปริมาณสาร อาหารสูงกว่าที่มีอยู่เดิมโดยสารอาหารชนิดนั้นอาจมีอยู่น้อยหรือไม่มีอยู่ เลยในอาหารชนิดนั้น เช่น การเติมแคลเซียมในน้ำนมถั่วเหลือง การเติมวิตามินเอและเหล็กในบะหมี่สำเร็จรูป
  • การเติมสารอาหารให้ได้ ปริมาณเท่าที่กำหนดโดยกฎหมายหรือมาตรฐาน เช่น การเติมไอโอดีนในเกลือบริโภค การเติมวิตามินเอในนมข้นหวาน เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการเติมสารอาหารแม้ว่าดู เสมือนจะไม่ยุ่งยาก แต่ผู้ประกอบการก็ต้องศึกษาวิชาการที่เกี่ยวข้องหรือสอบถามผู้ที่มีความรู้ ด้านอาหารและโภชนาการว่า จะเลือกใช้สารอาหารชนิดใด ในปริมาณเท่าใด และเติมในขั้นตอนใดของกระบวนการผลิตจึงจะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อ สุขภาพอย่างแท้จริงและคุ้มทุน เช่น การพิจารณาเติมธาตุเหล็กในอาหาร เนื่องจากธาตุเหล็กมีหลายชนิดทั้งในรูปเกลือเฟอริก (ferric salt) และเกลือเฟอรัส (ferrous salt) จึงต้องพิจารณาว่าจะเลือกใช้เกลือของธาตุเหล็กแบบใดที่ร่างกายสามารถดูดซึม และนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่ากัน เมื่อเติมลงไปในอาหารแล้วธาตุเหล็กเกิดปฏิกิริยากับสารอาหารใดที่มีอยู่ใน อาหารนั้นหรือไม่เพราะจะมีผลทำให้ปริมาณที่จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกายลด ลง จะต้องใช้เลือกภาชนะแบบใดที่ไม่ส่งผลกระทบที่ทำให้ธาตุเหล็กเกิดการสลายตัว ในระหว่างการจัดเก็บและการขนส่ง

   2.ผลิตภัณฑ์ ที่มีการลดสารอาหาร ที่สำคัญได้แก่ น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ในอาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว ขนมหวานต่างๆ ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาโภชนาการของคนไทยดังที่กล่าวมาตั้งแต่แรก และเป็นปัญหาเดียวกันกับในประเทศที่พัฒนาแล้วที่พบคนอ้วนมาก คนที่เป็นความดันโลหิตสูงกันมาก ฯลฯ ธุรกิจอาหารจึงมีการผลิตสินค้าจำพวกอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น นมพร่องมันเนย
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขพยายามผลักดันให้ผู้ประกอบการผลิตอาหารที่จะเป็นการสร้าง เสริมสุขภาพที่ดีของคนไทย ดังตัวอย่างโครงการรณรงค์ส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี โดยรับรองอาหารลดน้ำตาล ไขมัน โซเดียม แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและป้องกันปัญหาที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อ สุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเสริมคุณค่าโดยการใช้ส่วนผสมจากอาหารธรรมชาติที่ เป็นแหล่งของสารอาหารต่าง ๆ ประเภทของอาหารที่อยู่ในขอบข่ายของโครงการได้แก่ กลุ่มขนมขบเคี้ยว กลุ่มขนมอบหรือเบเกอรี่ กลุ่มขนมไทยที่มีน้ำตาลและไขมันเป็นองค์ประกอบหลัก และกลุ่มอาหารอื่น ๆ ตามที่กรมอนามัยประกาศ หากผู้ประกอบการได้รับการรับรอง ก็จะได้รับเครื่องหมายรับรอง ?อาหารลดน้ำตาล ไขมัน โซเดียม? ดังภาพที่ 1 พร้อมทั้งใบรับรองจากกรมอนามัยด้วย

   3.ผลิตภัณฑ์ อาหารที่ใช้วัตถุดิบทดแทน การ เรียนรู้ที่จะเลือกใช้วัตถุดิบที่เหมาะสมจะมีผลต่อคุณค่าทางโภชนาการของ ผลิตภัณฑ์?เช่น การผลิตขนมไทยที่ต้องการเสริมคุณค่าของวิตามินเอ หากไม่ใช้สารอาหารวิตามินเอเติมลงไปซึ่งมีราคาแพงและใช้ประโยชน์ในร่างกาย ไม่ดีเท่าเมื่อเทียบกับวิตามินเอในอาหารตามธรรมชาติ การใช้ส่วนผสมจากพืชที่เป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนซึ่งจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ในร่างกาย และยังมีประโยชน์ในด้านการเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีอยู่มากในฟักทอง มะเขือเทศ ผักผลไม้ที่มีเนื้อสีแดง แสด หรือเหลือง ก็จะเป็นการเสริมคุณค่าทางอาหารของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น นอกจากนี้มีผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่ใช้วัตถุดิบจากพืชทดแทนวัตถุดิบจากสัตว์ สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการควบคุมคอเลสเตอรอลและไขมัน เช่น กะทิธัญพืช นมถั่วเหลืองผสมธัญพืชต่าง ๆ เช่น งา ข้าวโพด ลูกเดือย ฯลฯ

   4.ผลิตภัณฑ์ อาหารอินทรีย์ (Organic food) จาก ภาวะที่อาหารสดและอาหารสำเร็จรูปมีการตกค้างของสารปนเปื้อนประเภทต่าง ๆ ทั้งยาฆ่าแมลง สารเร่งการเจริญในสัตว์?จึงทำให้ผู้ที่ห่วงใยสุขภาพต้องการอาหารที่ปลอดหรือ มีการตกค้างน้อยที่สุดของสารพิษ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ พืชอาหารอินทรีย์นั้นเจริญเติบโตขึ้นมาโดยปราศจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์สังเคราะห์ ใช้อาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติเกือบทั้งหมด และก็มีมาตรฐานที่เข้มงวดที่เกษตรกรต้องปฏิบัติตาม ปัจจุบันอาหารอินทรีย์เป็นที่ต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญอย่างหนึ่งของไทย

   5.กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนา
การผลิตผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มนั้น ปัจจุบันภาครัฐมุ่งหวังที่จะให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมีความ ปลอดภัยต่อการบริโภคอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคภาครัฐจึงมีแนวทางดำเนินงาน หลายๆ ทางควบคู่กันไป ในกรณีที่เป็นการผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแล้วว่า เป็นอาหารกลุ่มเสี่ยง (Risk food) เช่น อาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิท น้ำดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิท ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้หากมีการฆ่าเชื้อไม่เพียงพอ อาจมีจุลินทรีย์ก่อโรคเหลือรอด ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ดังตัวอย่างที่เคยเป็นข่าวครึกโครมคือการเสียชีวิตของชาวบ้านจากการกินหน่อ ไม้ปี๊บ (ซึ่งจัดเป็นอาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิท) ที่ผ่านความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อไม่เพียงพอ มีสารพิษบอทูลินัมปนเปื้อนซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม บอทูลินัม ที่ยังคงอยู่รอด ภาครัฐโดยกระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดมาตรการขั้นต่ำที่เป็นกฎหมายเพื่อบังคับ ใช้กับกลุ่มผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่มีความเสี่ยงสูงที่เข้าข่ายโรงงาน จะต้องมีระบบการจัดการการผลิตที่เป็นไปตามกฎหมาย GMP (Good Manufacturing Practice) ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่อยู่ในขอบข่ายตามเงื่อนไขของกฎหมาย 54 ประเภทให้อ้างอิงประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 193 (พ.ศ.2543)เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษา แต่ถ้าเป็นอาหารควบคุมเฉพาะบางประเภท เช่น น้ำดื่มในภาชนะปิดสนิท ผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรเซชัน จะต้องทำการผลิตให้เป็นไปตามกฎหมายอาหารเฉพาะของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ


   นอกจากนี้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ที่จัดทำโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เพื่อรองรับการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือระดับพื้นบ้านที่ยังไม่ได้รับ การพัฒนาเท่าที่ควร โดยเป็นส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้รับการรับรองและแสดง เครื่องหมายการรับรอง ?เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ ?ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เน้นให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืน อีกทั้งสนับสนุนนโยบายสำคัญของรัฐบาลโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ?ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชน ?โดยมุ่งให้ความสำคัญของการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน ??และทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ?มาพัฒนาและสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น ?มีคุณภาพ มีจุดเด่น มีเอกลักษณ์ มีการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ สร้างงาน สร้างรายได้ หากธุรกิจ
โอทอป (OTOP) นำมาใช้เป็นแนวทางของการจัดการการผลิตและการควบคุมคุณภาพสินค้า และสามารถผ่านการรับรอง ก็จะได้รับอนุญาตให้ใช้โลโก้ มผช. ก็จะเป็นการประกันคุณภาพของสินค้าในระดับหนึ่งได้ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของสินค้ากลุ่มอาหาร เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สมุนไพรครอบคลุมทั้งในคุณภาพผลิตภัณฑ์และความ ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายเมื่อนำไปบริโภคหรือใช้งาน

   นอกเหนือจากข้อกำหนดทางกฎหมายที่จะ ต้องปฏิบัติตามแล้ว ในปัจจุบันพบว่าหากผู้ประกอบการสามารถสร้างหลักประกันในเรื่องระบบการจัดการ คุณภาพในการดำเนินธุรกิจหรือมีระบบงานที่เป็นไปตามมาตรฐานในอันที่จะสร้าง ความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยในอาหารที่สูงกว่าระบบ GMP ซึ่งเป็นระบบสุขลักษณะพื้นฐานแล้ว ก็จะได้รับการยอมรับจากลูกค้ามากยิ่งขึ้น มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการความปลอดภัยในอาหารที่มีการพัฒนาจัดทำ กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันได้แก่ HACCP, ISO 9001, ISO 22000 : 2005, BRC-อาหาร (2008)

   6.สภาพ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของไทยและของโลก
สภาพเศรษฐกิจมีผลต่อกำลังซื้อของ ประชาชน จะเห็นได้ว่าขณะนี้ไทยเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยซึ่งได้รับผลกระทบที่เป็น ลูกโซ่จากภาวะเศรษฐกิจโลก ทำให้กำลังซื้อของคนไทยส่วนหนึ่งหดหายไป คนไทยตกงานมากขึ้น มีการประหยัดการใช้จ่ายกันมากขึ้น หากจะพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดกลุ่มใดต้องศึกษาข้อมูลด้านการตลาดประกอบด้วย
สังคมไทยได้รับอิทธิพลจากสังคมโลกที่ รวดเร็วจากการที่โลกไร้พรมแดนจึงมีผลต่อคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าด้วย ตัวอย่างเช่น ขณะนี้ทั่วโลกเผชิญปัญหามลภาวะต่าง ๆ มากมาย กระแสเรื่องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงมีความ สำคัญมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือการลดการใช้ภาชนะบรรจุจำพวกโฟม และหันมาใช้วัสดุบรรจุที่สลายตัวได้ในสิ่งแวดล้อม เช่น กระดาษ ฯลฯ แทน ตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่งคือ ?ตลาดสีเขียวเพื่อความยั่งยืน? ที่หันกลับไปหากระบวนการผลิตอาหารตามแบบวิธีดั้งเดิมและด้วยวิธีธรรมชาติ ที่ไม่พึ่งการใช้สารเคมีในการเร่งรัดให้ผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด แต่รักษาคุณภาพและเพิ่มปริมาณการผลิตได้โดยใช้วิธีการทางชีวภาพ เช่น การรักษาคุณภาพดินที่เพาะปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์ การกำจัดศัตรูพืชโดยการพัฒนาจากวิธีทางธรรมชาติ

ขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์

1.การ กำหนดจุดมุ่งหมายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
การกำหนดจุดมุ่งหมายของการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อย่างชัดเจนจะช่วยให้ผู้ประกอบการกำหนดขอบเขตของงานที่จะ ดำเนินการต่อและสามารถวางแผนงานได้ชัดเจนขึ้น เปรียบเหมือนมีเข็มทิศที่จะก้าวเดินต่อไป
2.การสร้างแนวคิดและคัดเลือกแนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่
ผู้ประกอบการสามารถสร้าง แนวคิดผลิตภัณฑ์ได้หลาย ๆ ช่องทางด้วยกัน ที่มีการดำเนินงานโดยทั่วไปคือจากการศึกษาข้อมูลจากเอกสารวิชาการ บทความ?จากการเข้าชมนิทรรศการ จากการเข้าร่วมทดลองทำผลิตภัณฑ์ที่มีการสอนในลักษณะหลักสูตรวิชาชีพ จากการศึกษาข้อมูลการตลาด สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดแนวคิดในใจที่จะนำมาสานต่อไปให้เป็นผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามเมื่อได้แนวคิดแล้วจะต้องศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับกับแนวคิด ผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อการคัดเลือกแนวคิดที่เป็นไปได้มากที่สุดเพื่อที่จะพัฒนา ผลิตภัณฑ์ต่อไป ข้อมูลที่สำคัญได้แก่
1.ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ใหม่ เช่น สูตร วัตถุดิบ ส่วนผสม วิธีการผลิต อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรที่จะใช้ การเก็บรักษา บรรจุภัณฑ์และการบรรจุหีบห่อ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ ต้องมีข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อจะได้พิจารณาอย่างถ่องแท้ต่อไปว่า จะเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นต่อไป หรือยกเลิกและสนใจผลิตภัณฑ์อื่นที่มีโอกาสมากกว่า
2.ข้อมูลบรรจุภัณฑ์?ต้องศึกษา ไปพร้อม ๆ กับผลิตภัณฑ์ว่าจะใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดใดบรรจุภัณฑ์นั้นมีสมบัติในการปกป้องคุณภาพสินค้าอย่างไรบ้าง มีคุณสมบัติพิเศษในการรักษาคุณภาพของสินค้าหรือไม่ เช่น ป้องกันการกระทบกระแทกได้ดี ป้องกันการเคลื่อนที่ของออกซิเจนจากภายนอกไม่ให้เข้ามาทำปฏิกิริยากับอาหาร ซึ่งจำเป็นสำหรับอาหารที่มีไขมันสูงในการชะลอการเหม็นหืน ข้อกำหนดทางกฎหมายเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่จะเลือกใช้มีหรือไม่ ตลอดจนการออกแบบด้านบรรจุภัณฑ์ที่จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความ สนใจของลูกค้า
3.?ข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภค กำหนดว่าใครคือผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย เป็นบุคคลทั่วไปหรือบุคคลกลุ่มพิเศษ การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าประเภทเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ที่จะทำการพัฒนาขึ้น มาเป็นอย่างไร
4.?ข้อมูลด้านการตลาด ผลิตภัณฑ์ที่จะทำการพัฒนามีความเหมือนหรือใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ที่มี จำหน่ายอยู่แล้วในท้องตลาด จุดเด่นของผลิตภัณฑ์คืออะไรที่แตกต่างจากสินค้าเดียวกันแต่เป็นของผู้ผลิต รายอื่น จะทำการตลาดอย่างไร วิธีการขายและการส่งเสริมการขายเป็นอย่างไร ควรจะวางขายที่ใด ฯลฯ
การคัดเลือกแนวความคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ อาจทำได้หลายวิธีซึ่งแต่ละวิธีจะมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ อาจพิจารณาเริ่มจากความต้องการของผู้ประกอบการเป็นลำดับแรกก่อนโดยจัดลำดับ ผลิตภัณฑ์และให้คะแนนแต่ละผลิตภัณฑ์ จากนั้นพิจารณาจากกระบวนการผลิตและการตลาดเป็นเกณฑ์เพื่อวิเคราะห์ความเป็น ไปได้ในการลงทุนและผลตอบแทน

การเตรียมแผนงานและทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ


   แผนงานที่จะต้องจัดเตรียมควรจะครบ ถ้วนเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติ แผนงานในที่นี้ประกอบด้วย
1.แผนงานด้านการจัดหา การจัดเก็บวัตถุดิบ ส่วนผสม และบรรจุภัณฑ์
2.แผนงานด้านการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับ การจัดเก็บวัตถุดิบ ส่วนผสมและบรรจุภัณฑ์ตลอดจนสินค้าที่ผลิตเสร็จ ทั้งในด้านการจัดการอย่างถูกสุขลักษณะหากเป็นสินค้ากลุ่มอาหาร และในด้านการไหลของงานที่จะทำให้การทำงานในขั้นตอนต่างๆ มีประสิทธิภาพและการส่งงานต่อระหว่างขั้นตอนหนึ่งไปยังขั้นตอนถัดไปไม่เกิด ความล่าช้าและดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.แผนงานด้านการจัดการการเงิน ทั้งในเรื่องเงินลงทุน เงินทุนหมุนเวียนเพื่อป้องกันความชะงักชันเมื่อธุรกิจได้ดำเนินงานไปแล้ว
4.แผนงานด้านการจัดการแรงงาน จะจัดหาใครบ้างที่รับผิดชอบการดูแลจัดซื้อวัตถุดิบ การจัดเก็บ การผลิต การขนส่งสินค้า และอื่นๆ จะใช้บุคคลในครอบครัวหรือจำเป็นต้องจ้างคนภายนอกด้วย

การพัฒนากระบวนการผลิต

   จากการทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ แล้ว ผู้ที่ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์จะสามารถลำดับขั้นตอนและรายละเอียดของกระบวนการ ผลิตได้ทั้งหมด ยกตัวอย่าง การทำผลิตภัณฑ์มะม่วงแช่อิ่ม มีขั้นตอนดังนี้

  1. เตรียมวัตถุดิบ ได้แก่ มะม่วงแก้วดิบ 30 ผล เกลือเม็ด 1- ? ถ้วย น้ำตาลทราย 10 ถ้วย
  2. ล้างมะม่วงให้สะอาด สะเด็ดน้ำ และปอกเปลือกด้วยมีดปลอดสนิมและคม
  3. ล้างอีกครั้งแล้วฝานตามยาว ของลูกให้มีความหนาที่เหมาะสม
  4. เตรียมน้ำเกลือตามสูตร ต้มให้เดือด แล้วทิ้งให้เย็น ถ้าต้องการให้มะม่วงมีสีเหลือง ใส่หญ้าฝรั่งลงในน้ำเชื่อมเล็กน้อย
  5. เตรียมขวดโหลขนาดใหญ่ 1 โหล (สะอาด) แล้วนำมะม่วงที่ฝานแล้วบรรจุ กรองน้ำเกลือ แช่ให้ท่วมเก็บไว้ 1 คืน
  6. รุ่งขึ้นเอามะม่วงดองออกจาก น้ำเกลือ เรียงผึ่งในตะแกรง ผึ่งแดดพอหมาด ๆ
  7. เตรียมน้ำเชื่อมโดยใช้ อัตราส่วน 1 ต่อ 1 นำชิ้นมะม่วงบรรจุขวดแช่น้ำเชื่อม 1 คืน
  8. นำน้ำ เชื่อมออกมาอุ่น และเติมน้ำตาล 1 ถ้วย น้ำ 1 ถ้วย ต้มเดือด 10 นาที บรรจุมะม่วงลงในขวดน้ำเชื่อมขณะร้อน เก็บไว้นาน 1 เดือน
   จากการระบุขั้นตอนได้อย่างชัดเจนจะ ทำให้สามารถพิจารณาต่อไปได้ว่า.oแต่ละขั้นตอน จะต้องเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือและพื้นที่ดำเนินงานอย่างไรบ้าง สิ่งที่จะต้องควบคุมในแต่ละขั้นตอนคืออะไร ดังเช่น
  1. เตรียมวัตถุดิบ จุดควบคุมได้แก่ คุณภาพของมะม่วงแก้ว ต้องคัดขนาด ความแก่-อ่อนที่เท่า ๆ กัน เพราะจะมีผลต่อคุณภาพของสินค้า นอกจากนี้ไม่ควรมีสิ่งปนเปื้อนหรือสิ่งแปลกปลอมในมะม่วงที่จะเป็นอันตรายต่อ สุขภาพ นอกจากนี้คุณภาพของเกลือและน้ำตาลที่สะอาดไม่มีสิ่งปนเปื้อนก็ต้องควบคุม เช่นกัน
  2. ล้าง ปอกเปลือก ฝาน จุดควบคุมได้แก่ วิธีการล้างทำความสะอาดที่ถูกสุขลักษณะ น้ำที่ใช้ล้าง มีดที่ใช้ปอกเปลือก วิธีการปอกเปลือก ฝาน
  3. เตรียมน้ำเกลือ ต้มน้ำเกลือ จุดควบคุมได้แก่ ความเข้มข้นของน้ำเกลือ ภาชนะที่ใช้ต้ม การทิ้งไว้ให้เย็นโดยมีการป้องกันการปนเปื้อนน้ำเกลือ
  4. ดองมะม่วงในน้ำเกลือ จุดควบคุมได้แก่ ความสะอาดของขวดโหลที่จะใช้ดอง สถานที่เก็บขวดโหลขณะกำลังดอง ระยะเวลาของการดอง
  5. ผึ่งมะม่วงดองเพื่อสะเด็ดน้ำเกลือ?จุดควบคุมได้แก่ ความสะอาดของอุปกรณ์ที่ใช้สะเด็ดน้ำเกลือ การป้องกันการปนเปื้อนสิ่งสกปรกในมะม่วงขณะสะเด็ดน้ำเกลือ
  6. เตรียมน้ำเชื่อม และแช่มะม่วงในน้ำเชื่อม จุดควบคุม ได้แก่ ความสะอาดของน้ำเชื่อมขณะที่เตรียมและขณะที่แช่ ความเข้มข้นของน้ำเชื่อม
  7. อุ่นน้ำเชื่อม เติมน้ำตาล ต้มจนเดือด แช่มะม่วง จุดควบคุม ได้แก่ อุณหภูมิของน้ำเชื่อม ปริมาณน้ำตาล การควบคุมความสะอาดของอุปกรณ์และสภาพแวดล้อมในขณะแช่มะม่วงในน้ำเชื่อม
  8. นอกจากมี ความชัดเจนในเรื่องกระบวนการผลิตแล้ว ผู้ประกอบการควรนำสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารตรวจสอบคุณภาพโดยส่งตัวอย่างตรวจสอบ ยังห้องปฏิบัติการซึ่งอาจจะเป็นของภาครัฐ เช่น กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถาบันอาหาร สถาบันวิจัยโภชนาการของมหาวิทยาลัยมหิดล หรือห้องปฏิบัติการของภาคเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพื่อให้ได้ข้อมูลว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพในด้านความปลอดภัยในอาหารที่เป็นไป ตามข้อกำหนดทางกฎหมายหรือไม่ ในอันที่จะสร้างความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการ
  9. การ วางแผนด้านการตลาด ผู้ ประกอบการควรมีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับแผนงานด้านการตลาดในการนำผลิตภัณฑ์ ใหม่เข้าสู่ตลาด มีการประเมินความเสี่ยงในการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด?การกำหนดราคา การทดสอบตลาด วิธีการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขาย ตามหลักของส่วนประสมการตลาดให้ครบถ้วน ทั้งนี้ครอบคลุมถึงการลำเลียงขนส่งสินค้าไปยังผู้ขายส่งและผู้ขายปลีก

การบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับวัย

การบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับวัย

อาหารเด็กวัยเรียน
    ในปัจจุบันภาวะของความเร่งรีบในสังคม อาจจะทำให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองละเลยเรื่องอาหารเช้าของเด็กวัยเรียน ซึ่งเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตต้องการอาหารเช้าของเด็กวัยเรียน ซึ่งมักจะเป็นปัญหาของบางครอบครัวที่ต้องเร่งรีบในตอนเช้าของแต่ละวัน โดยเฉพาะครอบครัวในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร และครอบครัวรุ่นใหม่ที่พ่อแม่ทำงานทั้งคู่ ไม่มีแม่ครัวหรือคนรับใช้ที่จะหุงหาอาหารในตอนเช้าให้   
      ดังนั้น ในปัจจุบันภาวะของความเร่งรีบในสังคม อาจจะทำให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองละเลยเรื่องอาหารเช้าของเด็กวัยเรียน ซึ่งเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต ถ้าเด็กไม่ได้กินอาหารเข้า จะทำให้เด็กขาดสมาธิในการเรียน สมองมึน ง่วง ซึม และถ้าเด็กอดอาหารเป็นเวลานานๆ ติดต่อกัน จะทำให้มีผลเสียต่อระบบการย่อยอาหาร และเป็นโรคขาดสารอาหารได้ ดังนั้น การเลือกอาหารเช้าที่เด็กวัยเรียน ควรได้กินและหาได้ง่ายๆ คือ นมสด 1 กล่อง ข้าวหรือขนมปัง ไข่ อาจจะเป็นไข่ดาว ไข่ลวกหรือไข่เจียว ผลไม้ที่หาได้ง่าย เช่น กล้วยน้ำว้า มะละกอ หรือส้ม เท่านี้เด็กก็จะได้รับสารอาหารที่เพียงพอแล้ว จึงอยากจะให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองได้ตระหนักถึงเด็กๆ ในการที่จะเตรียมอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการในครั้งต่อไปนะคะ








อาหารเด็กวัยรุ่น
      วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตในด้านร่างกายอย่างมาก และในวัยนี้เองที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และจิตใจค่อนข้างสูง มีกิจกรรมต่างๆ ค่อนข้างมาก ทั้งในด้านสังคม กีฬาและบันเทิง ความต้องการสารอาหารย่อมมีมากขึ้นเป็นธรรมดา ซึ่งจะต้องคำนึงทั้งปริมาณและคุณภาพให้ถูกหลักโภชนาการ
       ความต้องการอาหารที่ให้โปรตีนพลังงาน และวิตามินต้องเพียงพอสำหรับวัยรุ่น วิตามินต้องเหมาะและโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีเกลือแร่ประเภท แคลเซี่ยม และเหล็ก ต้องเพียงพอกับวัยรุ่นในวัยต่างๆ

อาหรวัยผู้ใหญ่
        ผู้ใหญ่ถึงแม้ว่าจะหยุดเจริญเติบโตแล้ว แต่ร่างกายก็ต้องการสารอาหารอย่างครบถ้วน เพื่อนำไปทำนุบำรุงอวัยวะ และเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย ให้คงสภาพการทำงานที่มีสมรรถภาพต่อไป และปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้วัยผู้ใหญ่ยังคงแข็งแรง ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ซึ่งในวัยนี้ เนื่องจากเป็นวัยทำงานมีเงินทองที่จะจับจ่ายได้มากขึ้น โดยมากจะทำให้เกิดภาวะโภชนาการเกินเป็นส่วนใหญ่ เพราะถือเป็นความสุขอย่างหนึ่งของคนบางกลุ่ม ที่คิดว่าอุสส่าห์หาเงินทองแทบแย่ จึงต้องรับประทานอาหารที่มีราคาแพง และส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยไขมันในปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้นสิ่งที่เป็นหัวใจในการควบคุมเรื่องอาหารการกินในผู้ใหญ่ ก็คือการควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม และท่านสามารถคำนวณได้จากสูตร ดัชนีความหนาของร่างกายซึ่งมีรายละเอียดในหัวข้อเรื่องการควบคุมน้ำหนักตัว สำหรับคำแนะนำการรับประทานอาหารที่ถูกต้องในผู้ใหญ่ ขอแนะนำดังนี้
      1. ให้บริโภคอาหารหลายชนิด เนื่องจากไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการได้ครบถ้วน
       2. บริโภคอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการ         
       3. หลีกเลี่ยงการรับประทานที่มีไขมันมากเกินไป   
       4. บริโภคอาหารที่มีปริมาณของแป้ง และกากใยให้เพียงพอ
       5. หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ปรุงด้วยปริมาณน้ำตาลจำนวนมาก
       6. หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารเค็มมากเกินไป                
       7. ถ้าท่านดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ ขอให้ท่านดื่มแต่พอประมาณ 

            สตรีตั้งครรภ์นอกจากต้องมีสารอาหารทั้ง 6 ประเภท ได้แก่โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ ในอาหารที่รับประทานเป็นประจำให้ครบทุกประเภทแล้ว สตรีตั้งครรภ์ต้องทราบอีกว่าควรที่จะเพิ่มสารอาหารประเภทใด จึงจะทำให้เด็กในครรภ์ได้รับประโยชน์สูงสุดดังนี้
           1.อาหารที่ให้โปรตีน ได้แก่ไข่ นม เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์และถั่วเมล็ดแห้ง สตรีตั้งครรภ์จึงควรรับประทานไข่วันละ 1-2 ฟอง นมสดวันละ 1-2 แก้ว เนื้อสัตว์บกและสัตว์ทะเล ซึ่งจะได้ธาตุไอโอดีนด้วย อาหารประเภทเต้าหู้และนมถั่วเหลือง ก็มีประโยชน์ในการให้โปรตีนไม่แพ้เนื้อสัตว์เช่นกัน
          2.อาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ข้าว แป้ง น้ำตาล ไขมันและน้ำมัน สตรีตั้งครรภ์ควรรับประทานข้าวพอประมาณร่วมกับอาหารที่ให้โปรตีนดังกล่าวแล้ว ควรใช้น้ำมันพืชซึ่งมีกรดไขมันจำเป็น ในการประกอบอาหาร เช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด สตรีตั้งครรภ์ควรจะท้องรับประทานอาหารที่จะให้พลังงานมากขึ้นวันละประมาณ 300 แคลลอรี่
          3.อาหารที่ให้วิตามินและเกลือแร่ สตรีตั้งครรภ์ต้องการอาหารที่มีวิตามินและเกลือแร่เพิ่มขึ้น ควรรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้ทุกๆวัน เช่นส้ม มะละกอ กล้วย สลับกันไป จะได้ใยอาหารเพื่อประโยชน์ในการขับถ่ายอุจจาระด้วย เกลือแร่ที่สำคัญควรรับประทานเพิ่มได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี และไอโอดีน ส่วนวิตามินได้แก่กลุ่มที่ละลายในไขมัน เช่น เอ ดี อี เค และที่ละลายในน้ำ ได้แก่วิตามินบี และวิตามินซี

        ผู้สูงอายุในที่นี้หมายถึงผู้ที่อยู่ในวัย 60 ปีขึ้นไป ซึ่งในปัจจุบัน เป็นปีที่จะเกษียณอายุของทางราชการ แต่ในอนาคตจะมีคนอายุ 60 ปี แต่ยังแข็งแรงทั้งสุขภาพกายสุขภาพจิต ความคิดความอ่าน การตัดสินใจยังดีอยู่ จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้สูงอายุน่าที่จะขยับไปอยู่ที่วัย 65 ปีขึ้นไป
         สำหรับปัญหาเรื่องอาหารการกิน หรือโภชนาการในวัยนี้ มีข้อคิดอยู่ว่า ขอให้รับประทานอาหารให้ครบหมู่ และควบคุมปริมาณโดยดูจากการควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากขึ้น และในกรณีน้ำหนักเกินอยู่แล้ว ควรจะลดน้ำหนักให้ลงมาตามที่ควรเป็นด้วย เพราะโครงสร้างของท่านเสื่อมตามวัย ถ้ายังต้องแบกน้ำหนักมากๆ จะเป็นปัญหาได้
ข้อแนะนำในการดูแลเรื่องอาหารในผู้สูงอายุมีดังนี้
                1.โปรตีนคุณภาพ ควรให้รับประทานไข่วันละ 1 ฟอง และดื่มนมอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว สำหรับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ควรลดน้อยลง เพราะส่วนใหญ่จะติดมันมากับเนื้อสัตว์ด้วย
        2.ไขมัน ควรใช้น้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันข้าวโพดในการปรุงอาหาร เพราะเป็นน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิก            
        3.คาร์โบไฮเดรต คนสูงอายุควรรับประทานข้าวให้ลดน้อยลง และไม่ควรรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่มาก
        4.ใยอาหาร คนสูงอายุควรรับประทานอาหารที่เป็นพวกใยอาหารมากขึ้น เพื่อช่วยป้องกันการท้องผูก เชื่อกันว่าช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และลดอุบัติการของการเกิดมะเร็งของลำไส้ใหญ่ลงได้
        5.น้ำดื่ม คนสูงอายุควรรับประทานน้ำประมาณ 1 ลิตร ตลอดทั้งวัน แต่ทั้งนี้ควรจะปรับเองได้ ตามแต่ความต้องการของร่างกาย โดยให้ดูว่า ปัสสาวะมีสีเหลืองอ่อนๆ เกือบขาว แสดงว่าน้ำในร่างกายเพียงพอแล้ว ส่วนเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำชา กาแฟควรจะงดเว้นเสีย ถ้าระบบย่อยอาหารในคนสูงอายุไม่ดี ท่านควรแบ่งเป็นมื้อย่อยๆ แล้วรับประทานทีละน้อย แต่หลายมื้อจะดีกว่า แต่อาหารหลักควรเป็นมื้อเดียว 

สารปนเปื้อนในอาหาร

สารปนเปื้อนในอาหาร 

   อาหารแต่ละชนิดที่เรารับประทานมีรสชาติต่างกัน เกิดจากสารปรุงแต่งรสอาหารที่แตกต่างกัน ส่วนประกอบบางชนิดได้มาจากธรรมชาติ เช่น ความหวานและกลิ่นจากเนื้อสัตว์ พืชผักต่างๆ แต่ก็มีสารปรุงแต่งกลิ่นและรสชาติบางชนิดที่คนเราสังเคราะห์ขึ้นมาเลียนแบบกลิ่นรสของธรรมชาติ เช่น ผงชูรส น้ำตาล เกลือ น้ำปลา น้ำส้มสายชู สีผสมอาหาร เป็น สิ่งเหล่านี้เป็นสารปนเปื้อนในอาหารที่มักจะมีสารเคมีเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยเสมอ ผู้ประกอบอาหารมีจุดประสงค์ในการใช้สารปนเปื้อนในอาหารต่างๆ กัน ดังนี้

   1. ใส่สารกันบูด เพื่อป้องกันการเน่าเสีย
   2. แต่งสีให้มีสันสันสวยงาม น่ารับประทาน เป็นการดึงดูดผู้บริโภค เช่น สีผสมอาหาร สีสกัดจากธรรมชาติ
   3. เพื่อแต่งกลิ่นให้หอมชวนรับประทาน เช่น กลิ่นหอมของน้ำนมแมว น้ำกลิ่นกุหลาบ น้ำลอยดอกมะลิ กลิ่นจากการอบเทียนหอม เป็นต้น
   4. เพื่อปรุงรส เช่น รสเปรี้ยวจากมะนาว น้ำส้มสายชู รสเค็มจากเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว รสหวานจากน้ำตาล ขัณฑสกร 
   ยกตัวอย่างของผงชูรส ช่วยเพิ่มรสชาติของอาหาร ผงชูรสมีลักษณะเป็นผลึกสีขาวรูปร่างเป็นแท่งยาวๆ คอดตรงกลางเล็กน้อย ขนาดจะไม่สม่ำเสมอ ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ละลายน้ำได้ ผลิตโดยวิธีการหมักแห้งมันสำปะหลังหรือกากน้ำตาลจากอ้อย ถ้ารับประทานมากเกินไปจะเกิดโทษต่อร่างกาย เนื่องจากกรรมวิธีในการผลิตผงชูรสค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน ใช้เวลานาน และมีต้นทุนสูง จึงมีพ่อค้าแม่ค้าที่ขาดจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมนำสารสังเคราะห์ที่มีชื่อว่า บอแรกซ์ (borax) ซึ่งมีสีคล้ายผงชูรส แต่มีลักษณะเป็นเม็ดกลมเล็กๆ และราคาถูกกว่า มาผสมในผงชูรสแท้เพื่อเพิ่มปริมาณและน้ำหนัก ซึ่งสารบอแรกซ์นี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก โดยปกติมักจะใช้สารบอแรกซ์ในอุตสาหกรรมการเชื่อมทอง จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "น้ำประสานทอง"หรือ "ผงกรอบ"




                                         รูปแสดงอาหารที่นิยมใส่สารบอแรกซ์
                                        (ที่มา : www.prc.ac.thb.borax)


โทษของสารบอแรกซ์ต่อร่างกาย มีดังนี้

   1. ทำให้เกิดพิษสะสมในร่างกาย จะมีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ กรวยไตอักเสบ
   2. ถ้าสะสมในร่างกายมากเกินไปอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต เช่น ถ้าเด็กได้รับเกิน 5 กรัม ผู้ใหญ่รับเกิน 15 กรัม จะเสียชีวิตได้
วิธีการตรวจสอบว่าผงชูรสที่ซื้อมาเป็นของแท้หรือของปลอม ดังนี้
   1. สังเกตลักษณะของผงชูรสด้วยตาเปล่าหรือใช้แว่นขยายส่องดู ลักษณะผลึกของผงชูรสแท้จะเป็นแท่งยาวๆ คอดตรงกลาง ใส ไม่มีสี มีขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ส่วนผงชูรสปลอมจะพบผลึกของบอแรกซ์เจือปนอยู่ ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดกลมเล็กๆ ไม่ใส
   2. ใส่ผงชูรสในช้อนโลหะแล้วนำไปเผาไฟ สักครู่ผงชูรสจะหลอมละลาย ถ้าเป็นสีน้ำตาลดำแสดงว่าเป็นผงชูรสแท้ ถ้ามีสีขาวหรือสีเทา แสดงว่าเป็นผงชูรสปลอม
   3. ทดสอบด้วยกระดาษขมิ้น โดยนำผงชูรสไปละลายน้ำ จากนั้นนำกระดาษขมิ้นจุ่มลงไปในสารละลายของผงชูรส สังเกตสีของกระดาษขมิ้น ถ้ากระดาษขมิ้นไม่เปลี่ยนสี (สีเหลืองคงเดิม) แสดงว่าเป็นผงชูรสแท้ แต่ถ้ากระดาษขมิ้นเปลี่ยนเป็นสีส้ม สีส้มแดง หรือสีแดง แสดงว่ามีสารบอแรกซ์ปลอมปนอยู่ในผงชูรสนั้น






HACCP คืออะไร

HACCP

   เป็นมาตรฐานการผลิต ที่มีมาตรการป้องกันอันตราย ที่ผู้บริโภค อาจได้รับจากการบริโภคอาหาร หลายท่านอาจสงสัยว่า ระบบ HACCP ที่กล่าวถึงนั้นคืออะไร มีความสำคัญต่อประเทศไทย ในฐานะประเทศ ผู้ผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลกอย่างไร ใครบ้างที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ประเทศไทยได้ดำเนินการในเรื่องนี้ไปแล้วเพียงใด รวมทั้งประโยชน์ที่ได้รับ จากการใช้ระบบนี้คืออะไร
  HACCP หรืออาจอ่านว่า แฮซเซป เป็นตัวย่อจากคำภาษาอังกฤษ ที่ว่า Hazard Analysis Critical Control Point ซึ่งหมายถึง การวิเคราะห์อันตราย จุดควบคุมวิกฤต เป็นแนวคิดเกี่ยวกับ มาตรการป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้น ในแต่ละขั้นตอน ของการดำเนินกิจกรรมใด ๆ โดยมีกระบวน การดำเนินงาน เชิงวิทยาศาสตร์ คือมีการศึกษาถึงอันตราย หาทางป้องกันไว้ล่วงหน้า รวมทั้งมีการควบคุม และเฝ้าระวัง เพื่อให้แน่ใจว่า มาตรการป้องกัน ที่กำหนดขึ้นนั้น มีประสิทธิภาพตลอดเวลา ที่มาของการเปลี่ยนแนวคิด HACCP ให้เป็นวิธีปฏิบัติ ในอุตสาหกรรมอาหาร เกิดขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 โดยบริษัทพิลสเบอรี่ ในสหรัฐอเมริกา ต้องการระบบงาน ที่สามารถใช้สร้างความเชื่อมั่น ในความปลอดภัย สำหรับการผลิตอาหาร ให้แก่นักบินอวกาศ ในโครงการ ขององค์การนาซ่า แห่งสหรัฐอเมริกา   นับแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งภาคอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันทางวิชาการ และองค์กร ที่มีหน้าที่ควบคุมดูแล ด้านอาหารของสหรัฐอเมริกา ก็เริ่มให้ความสนใจ ในระบบ HACCP จึงได้มีการส่งเสริม และนำไปปรับใช้ ในอุตสาหกรรมอาหาร ประเภทต่าง ๆ องค์การอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา ได้ใช้แนวคิดนี้ ในการแก้ปัญหา ที่ผู้บริโภคได้รับอันตราย จากอาหารกระป๋อง เนื่องจากสารพิษของแบคทีเรีย คือ botulinum toxins สารพิษนี้ มีอันตรายต่อผู้บริโภคสูงมาก แม้ร่างกายจะได้รับ ในปริมาณเพียงเล็กน้อย ก็อาจถึงแก่ชีวิตได้ จึงได้มีการกำหนด จุดควบคุมวิกฤต ในกฎหมายที่ควบคุมกรรมวิธี การผลิตอาหารกระป๋อง ที่มีความเป็นกรดต่ำ   ต่อมาองค์การอาหาร และเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก ได้เห็นความสำคัญ ของการประยุกต์ใช้ HACCP ในกระบวนการผลิตอาหาร ในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ในครัวเรือน การผลิตวัตถุดิบ ที่เป็นอาหาร จนถึงอุตสาหกรรมอาหาร ขนาดใหญ่ ในที่สุดคณะกรรมาธิการ ว่าด้วยมาตรฐานอาหาร ระหว่างประเทศ ซึ่งมีรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ เป็นสมาชิก อยู่เป็นจำนวนมาก ได้จัดทำเอกสารวิชาการ เพื่อเป็นแนวทาง ปฏิบัติในการประยุกต์ใช้ HACCP สำหรับการผลิตอาหารขึ้น พร้อมทั้งมีนโยบาย สนับสนุนการใช้ HACCP ในกระบวนการผลิตอาหาร เพื่อการค้าระหว่างประเทศ ทำให้ระบบ HACCP เป็นที่ยอมรับ และนานาชาติ ให้ความสำคัญ เอกสารวิชาการ เกี่ยวกับระบบ HACCP และแนวทางการนำไปใช้ ที่คณะกรรมาธิการ ว่าด้วยมาตรฐานอาหาร ระหว่างประเทศ จัดทำขึ้นฉบับล่าสุด เป็นฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ออกเมื่อปี พ.ศ. 2540   หลักการสำคัญของระบบ HACCP หลักการสำคัญของระบบ HACCP มี 7 ประการกล่าวคือ

  หลักการที่ 1 การวิเคราะห์อันตราย จากผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ที่อาจมีต่อผู้บริโภค ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยการประเมิน ความรุนแรงและโอกาส ที่จะเกิดอันตรายต่าง ๆ ในทุกขั้นตอนการผลิต จากนั้นจึงกำหนด วิธีการป้องกัน เพื่อลดหรือขจัดอันตรายเหล่านั้น

  หลักการที่ 2 การกำหนดจุดควบคุมวิกฤต ในกระบวนการผลิต จุดควบคุมวิกฤต หมายถึง ตำแหน่งวิธีการ หรือขั้นตอนในกระบวนการผลิต ซึ่งหากสามารถควบคุม ให้อยู่ในค่า หรือลักษณะที่กำหนดไว้ได้แล้ว จะทำให้มีการขจัดอันตราย หรือลดการเกิดอันตราย จากผลิตภัณฑ์นั้นได้
  หลักการที่ 3 การกำหนดค่าวิกฤต ณ จุดควบคุมวิกฤต ค่าวิกฤต อาจเป็นค่าตัวเลข หรือลักษณะเป้าหมาย ของคุณภาพ ด้านความปลอดภัย ที่ต้องการของผลผลิต ณ จุดควบคุมวิกฤต ซึ่งกำหนดขึ้น เป็นเกณฑ์สำหรับการควบคุม เพื่อให้แน่ใจว่า จุดควบคุมวิกฤต อยู่ภายใต้การควบคุม

  หลักการที่ 4 ทำการเฝ้าระวัง โดยกำหนดขึ้น อย่างเป็นระบบ มีแผนการตรวจสอบ หรือเฝ้าสังเกตการณ์ และบันทึกข้อมูล เพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่า การปฏิบัติงาน ณ จุดควบคุมวิกฤต มีการควบคุม อย่างถูกต้อง
  หลักการที่ 5 กำหนดมาตรการแก้ไข สำหรับข้อบกพร่อง และใช้มาตรการนั้นทันที กรณีที่พบว่า จุดควบคุมวิกฤต ไม่อยู่ภายใต้ การควบคุมตามค่าวิกฤต ที่กำหนดไว้

  หลักการที่ 6 ทบทวนประสิทธิภาพ ของระบบ HACCP ที่ใช้งานอยู่ รวมทั้งใช้ผล การวิเคราะห์ทดสอบ ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อประกอบการพิจารณา ในการยืนยันว่า ระบบ HACCP ที่ใช้อยู่นั้น มีประสิทธิภาพเพียงพอ ที่จะสร้างความเชื่อมั่น ในความปลอดภัย ของผลิตภัณฑ์ได้

  หลักการที่ 7 จัดทำระบบบันทึก และเก็บรักษาข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์อาหาร แต่ละชนิดไว้ เพื่อเป็นหลักฐาน ให้สามารถค้นได้เมื่อจำเป็น   จากหลักการทั้ง 7 ประการนี้ ทำให้ต้องมีการจัดทำ วิธีปฏิบัติในรายละเอียด ให้เหมาะสมกับ แต่ละผลิตภัณฑ์ แต่ละกระบวนการผลิต แต่ละสถานที่ผลิต เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการป้องกันอันตราย อย่างเต็มที่ วิธีการที่ใช้ ในระบบ HACCP เป็นกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ มีการศึกษารวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล ตัดสินใจ วางแผน ดำเนินงานตามแผน ติดตามกำกับดูแล การปฏิบัติงานในระบบ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และทบทวนประสิทธิภาพ ของระบบอยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นที่ ผู้ประกอบการผลิตอาหาร ที่จะใช้ระบบนี้ ต้องจัดตั้งทีมงาน ซึ่งประกอบด้วยผู้มีความรู้ ความชำนาญหลายสาขา เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ การอาหาร วิศวกรรมโรงงาน สุขาภิบาลอาหาร หรืออื่น ๆ ตามความจำเป็น เพื่อทำหน้าที่พัฒนา ระบบจัดทำเอกสาร และตรวจประเมินผล การปฏิบัติงาน   เมื่อปีราวปี พ.ศ. 2534 สหภาพยุโรป ได้ออกกฎระเบียบ ให้ผู้ผลิตอาหาร ที่จะจำหน่ายในกลุ่ม ประเทศสมาชิก ต้องดำเนินการกำหนด จุดควบคุมวิกฤต ในกระบวนการผลิต และเมื่อปลายปี พ.ศ. 2540 กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำหนดให้ผู้ผลิตอาหารทะเล ที่จำหน่าย ต้องใช้ระบบ   HACCP มีผลใช้บังคับ หมายความว่า ปัจจุบันผู้ผลิตอาหาร ของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย ที่ต้องการส่งอาหารทะเล ไปจำหน่ายยังสหรัฐอเมริกา จะต้องผลิตโดยมีระบบ HACCP ตามข้อกำหนด ของกฎหมายดังกล่าว ทำให้ผู้ผลิตอาหารทะเลส่งออก จำเป็นที่จะต้องนำระบบ HACCP มาประยุกต์ใช้   ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้อง ในเรื่องนี้โดยตรง คือภาคอุตสาหกรรม อาหารทะเลส่งออกของไทยนั้น ได้มีการเตรียมตัว มาเป็นระยะเวลาพอสมควร โดยการใช้วิธีปฏิบัติที่ดี ในการผลิต และพัฒนาการใช้ ระบบ HACCP เพื่อให้สอดคล้อง กับความต้องการ ของประเทศคู่ค้า หน่วยงานรับผิดชอบของภาครัฐ เช่น กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมกันให้การสนับสนุน และประสานงาน ด้านวิชาการ ภาควิชาที่เกี่ยวข้อง ในหลายสถาบันการศึกษา ได้เผยแพร่ความรู้ และฝึกทักษะ ในการดำเนินงาน ระบบ HACCP แก่นักศึกษา เพื่อมุ่งสร้างบุคลากร ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมอาหาร สำหรับการกำหนด กฎระเบียบต่าง ๆ นั้นเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 สำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา ของกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศเรื่อง การพัฒนาและแยกระดับ มาตรฐานการผลิต ของภาคอุตสาหกรรม โดยใช้หลักการวิเคราะห์อันตราย และจุดวิกฤต ที่ต้องควบคุม เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนา สถานที่ผลิตอาหาร เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริมการส่งออกอาหาร ที่ผลิตขึ้นในประเทศ   เมื่อเดือนกันยายน 2540 กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศ ฉบับที่ 2276 (พ.ศ.2540) เรื่องกำหนดมาตรฐาน อุตสาหกรรม ระบบการวิเคราะห์อันตราย และจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม ในการผลิตอาหาร และข้อแนะนำการใช้ เป็นมาตรฐานเลขที่ มอก. 7000-2540 นอกจากนี้สำนักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา ยังได้ร่วมกันเป็นหน่วยงาน ที่ทำหน้าที่ ให้การรับรอง แก่ผู้ประกอบการอีกด้วย

  ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ระบบ HACCP 
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ระบบ HACCP มีหลายประการที่สำคัญได้แก่

  ประการแรก ทำให้ภาคอุตสาหกรรมอาหาร สามารถสร้างความมั่นใจ ต่อผู้บริโภค ในคุณภาพความปลอดภัย ของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้น หรือจัดจำหน่าย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แก่ผู้ประกอบการ ในระยะยาวได้ดี เนื่องจาก มีการจัดสรรทรัพยากร ไปใช้ในอุตสาหกรรม ที่ควรจะใช้ การกำหนดจุดควบคุมวิกฤต ที่เหมาะสม จะทำให้ผู้ประกอบการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้มีการศึกษาปัญหา และหาทางป้องกัน แก้ไขไว้ล่วงหน้า เมื่อมีแนวโน้มว่า จะเกิดปัญหาในการผลิต ก็จะทำให้แก้ไขได้อย่างทันท่วงที ช่วยลดการสูญเสีย ของผลิตภัณฑ์ ทำให้สามารถดำเนินการอาหาร แต่ละตำรับ แต่ละรุ่น ได้อย่างราบรื่น ตามเป้าหมายที่กำหนด นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ประกอบการศึกษา ความปลอดภัย ของกระบวนการผลิตใหม่ ๆ ที่จะพัฒนาขึ้น และผู้ประกอบการ จะสามารถประยุกต์ใช้ ระบบ HACCP นี้ กับทุกขั้นตอน ของกระบวนการผลิต และการประกอบอาหาร

  ประการที่ 2 เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ที่ทำหน้าที่กำกับดูแลความปลอดภัย ของอาหาร จะได้รับประโยชน์ ถ้าผู้ผลิตใช้ระบบ เพราะบันทึกข้อมูล หลักฐานการผลิต ในระบบ HACCP ที่ผู้ประกอบการบันทึกไว้ ระหว่างการผลิตอาหาร แต่ละรุ่น จะเป็นเครื่องมือ ประกอบการตรวจสอบที่ดี ช่วยให้งานควบคุม คุณภาพอาหาร ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ สะดวก และมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เพราะรูปแบบเดิม ของการตรวจสอบ จะมีการทำแผนให้เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ เข้าทำการตรวจสอบ สถานที่ผลิตอาหาร เป็นครั้งคราว แต่ละครั้งอาจใช้เวลาห่างกัน 1 ถึง 2 ปี และข้อมูลที่ได้ จากการตรวจเยี่ยม เป็นเพียงข้อมูลการผลิต ณ เวลาที่เข้าทำการตรวจสอบเท่านั้น

  ประการที่ 3 ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ และความร่วมมืออันดี ระหว่างผู้ประกอบการผลิตอาหาร กับเจ้าหน้าที่ ผู้กำกับดูแลภาครัฐ เนื่องจากมีข้อเสนอแนะ ให้มีการให้ความเห็นชอบร่วมกัน ในการจัดทำ แผนดำเนินการ ระบบ HACCP และผู้ผลิตจะต้องเก็บข้อมูลสำคัญ เกี่ยวกับการผลิต ไว้ให้เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบได้ตลอดเวลา ซึ่งทำให้เกิดความโปร่งใส ในการปฏิบัติงาน

  ประการที่ 4 การรับรองระบบ HACCP โดยหน่วยงานที่เหมาะสมนั้น จะเป็นประโยชน์ ต่อการค้า อาหารระหว่างประเทศ คือ จะช่วยอำนวยความสะดวก ในการตรวจปล่อยสินค้า เมื่อส่งถึงเมืองท่าปลายทาง เนื่องจาก ผู้รับผิดชอบตรวจสอบ มีความเชื่อมั่น ในคุณภาพความปลอดภัย ของระบบการผลิตสินค้ามากขึ้น นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารส่งออก ที่ปลอดภัย เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ยังสามารถสร้างเศรษฐกิจ และชื่อเสียงแก่ประเทศชาติ รวมทั้งช่วยลดปัญหา สาธารณสุขระหว่างประเทศ อันเนื่องจากผลิตภัณฑ์ อาหารนำเข้าและส่งออก ได้อีกด้วย

  ประการที่ 5 ผู้บริโภคเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีความปลอดภัย ให้เลือกซื้อหามาบริโภคเพิ่มขึ้น   สภาพเศรษฐกิจ ปัจจุบันและอนาคต ทำให้มีการกีดกันทางการค้า อาหารระหว่างประเทศมากขึ้น เป็นลำดับ การนำระบบ HACCP มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร แม้จะต้องมีการลงทุนลงแรง ในระยะเริ่มต้น มากพอสมควร แต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน สร้างความเชื่อมั่น ในระบบการผลิต สอดคล้องกับความต้องการ ของประเทศคู่ค้า และลดต้นทุนการผลิต ในระยะยาว

ที่มาจาก http://www.thaifactory.com/Manage/HACCP-2.html

GMP คืออะไร

GMP คือระบบการจัดการสุขลักษณะพื้นฐานที่ดีสำหรับโรงงานผลิตอาหาร

   เป็นการจัดการสภาวะแวดล้อมขั้นพื้นฐานของกระบวนการผลิต ซึ่งเน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ไข เป็นระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารขั้นพื้นฐาน (Food Safety Management System) คือ การจัดการเพื่อไม่ให้อาหารก่อผลกระทบต่อผู้บริโภค เมื่ออาหารนั้นถูกเตรียมหรือบริโภค
เอ็มพี  (GMP)  สามารถแบ่งเป็น            
    1.  ส่วนของโครงสร้างอาคาร  สถานที่การผลิต  รวมทั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต  ส่วนนี้สำคัญมาก  นับเป็นหัวใจของการจัดทำระบบทีเดียว  ถ้าไม่มีความพร้อม  ในส่วนนี้  กล่าวคือ  อาคาร  สถานที่การผลิตไม่เหมาะสมไม่ถูกสุขลักษณะ หรือไม่ สามารถป้องกันแมลงและสัตว์นำโรคได้ หรือมีโอกาสปนเปื้อนสิ่งที่เป็นอันตรายต่างๆ เช่น  มีฝุ่นมาก  น้ำใกล้แหล่งสารพิษ  ก็นับเป็นการยากที่จะจัดทำระบบ จีเอ็มพี  ให้มีประสิทธิภาพได้            
   2.  ส่วนของการควบคุมกระบวนการผลิตและจัดทำระบบการปฏิบัติงานให้   สอดคล้องกับส่วนโครงสร้างอาคารการผลิต เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี  มีการล้างทำความสะอาดตามความจำเป็น และเก็บในที่ที่ป้องกันการปนเปื้อนได้  และ     จัดเก็บอย่างมีลำดับก่อนหลังการผลิต การเก็บ  การขนย้าย  หรือขนส่งผลิตภัณฑ์จะต้องทำอย่างเหมาะสม ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันกันปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมภายนอก หรือ หากมีการใช้สารเคมีเติมลงไปในอาหารจะต้องมีการควบคุมปริมาณสารเคมีไม่ให้เกินกว่า ที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้จะต้องมีการจัดทำระบบบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานเพื่อใช้ เป็นข้อมูลตรวจสอบย้อนกลับไปได้ในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น             
   3.  ส่วนการทำความสะอาดทั้งเครื่องมืออุปกรณ์การผลิตและบุคคล เกณฑ์ข้อนี้ใช้เป็นมาตรการสำคัญในการควบคุมจิลินทรีย์ที่สามารถปนเปื้อนนี้เข้ามาในขบวนการผลิตอาหารได้มาก  เครื่องมืออุปกรณ์การผลิตทั้งหลายควรมีการฆ่าเชื้อ โดยน้ำยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ เช่น  คลอรีน  รวมทั้งการล้างมือในอ่างที่มีน้ำยาฆ่าเชื้อ  เพื่อลดการปนเปื้อนจากการปฏิบัติงาน  มีการสวมถุงมือ  หมวกที่คลุมผม หรือใช้ชุดกันเปื้อนที่ สะอาด  มีการดูแลรักษาสุขภาพ ตลอดจนมีการฝึกอบรม  เพื่อพัฒนาจิตสำนึกและความรู้ในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม


ที่มา;http://www.thaidairy.org/GMP.htm

การแปรรูปอาหาร (Food Processing)

การแปรรูปอาหาร (Food Processing) 
เป็นขั้นตอนและวิธีการในการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบให้เป็นอาหารสำหรับบริโภค

ตัวอย่างของการแปรรูปอาหารได้แก่


  • สับละเอียดแล้วทำให้เปื่อยยุ่ย
  • คั้นเอาของเหลว อย่างเช่นการทำน้ำผลไม้
  • ผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน
  • ปรุงให้สุกด้วยการต้ม ทอด นึ่ง ย่าง หรือแกงเป็นต้น

ประโยชน์ของการแปรรูปอาหาร

   ประโยชน์ที่ได้จากการแปรรูปอาหารมีทั้งการได้ทำลายสารที่เป็นพิษในอาหาร ช่วยถนอมอาหาร ทำให้มีกลิ่นและรสชาดดีขึ้น สามารถจำหน่ายได้สะดวกขึ้น และเพิ่มความเข้มข้นของอาหาร
   การแปรรูปอาหารในสมัยใหม่ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน และผู้ที่ไม่สามารถบริโภคอาหารได้อย่างปกติ และสามารถเติมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ได้อีกด้วย



ผลเสียของการแปรรูปอาหาร

   การแปรรูปอาหารมักจะทำให้คุณค่าทางโภชนาการลดลง และบางครั้งอาจจะมีสารเคมีที่เป็นพิษปะปนเข้าไปกับอาหารในระหว่างการแปรรูป อย่างเช่นสารประกอบประเภทไนไตรท์ หรืออะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน ซึ่งสารหลายชนิดที่ใช้เจือปนในอาหารก็พบว่ามีผลเสียต่อสุขภาพ ขณะที่การแปรรูปบางวิธีก็ทำให้อาหารมีกลิ่นและรสชาดน่ารับประทานน้อยลง


ที่มาจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3